ข่าวเด่น ข่าวร้อนวันนี้ : กรุงเทพธุรกิจ

27 เมษายน 2553

ครม.ทุ่มงบ 5 พันล้านอุ้มผู้ประกอบการ-ลูกจ้าง แยกราชประสงค์

ที่ประชุมคณะอนุมัติงบ 5 พันล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประกอบการราชประสงค์ ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมเสื้อแดง รับปากเยียวยาพนักงานที่ถูกให้ออก หรือเลิกจ้างโดยรัฐจะเป็นผู้จ่ายเงินชดเชย พร้อมงัดมาตรการด้านสินเชื่อ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี

วันนี้ (27 เม.ย.) นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า ครม.อนุมัติมาตรการภาษี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์และผ่านฟ้า ดังนี้ 1.ขยายระยะเวลาการยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) จากที่กรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.52 และต้องยื่นชำระภาษีภายในวันที่ 30 พ.ค.53 ทั้งนี้ ได้ขยายระยะเวลาไปถึง 30 ก.ย.53

2.การขยายระเวลาการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ซึ่งปกติกำหนดให้ชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เห็นสมควรขยายการยื่นแบบฯออกไป 2 เดือน นับจากวันที่สิ้นสุดวันชุมนุม โดยจะมีการพิจารณาสำหรับการยื่นคำร้องเฉพาะราย 3.การขยายระยะเวลายื่นแบบภาษีเงินหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3) ปกติให้ชำระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป เห็นสมควรขยายการยื่นแบบฯออกไป 2 เดือน นับจากวันสิ้นสุดวันชุมนุม โดยจะมีการพิจารณาสำหรับการยื่นคำร้องเฉพาะราย

นายวัชระ กล่าวว่า ครม.อนุมัติมาตรการด้านสินเชื่อ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ย่านราชประสงค์ และพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โดยกระทรวงการคลังเน้นว่าเป็นผู้ประกอบการรายย่อย พืนที่ราชประสงค์ประตูน้ำ ผ่านฟ้า อาจครอบคลุมถึง สีลม และใกล้ๆ บ้านนายกฯด้วย ทั้งหมดเข้าข่ายมาตรการสินเชื่อโดยเอสเอ็มอีแบงก์ มีวงเงิน 5 พันล้านบาท

เอสเอ็มอีให้กู้ได้ไม่เกิน 3 ล้าน เปลี่ยนแปลงจาก 5 ล้านบาท ระยะเวลาสิ้นสุดการขอสินเชื่อในวันที่ 31 ธ.ค.หรือเต็มวงเงินสินเชื่อ ระยะเวลาการกู้ยืมให้กู้ได้ไม่เกิน 5 ปี ดอกเบี้ย เอ็มแอลอาร์ลบ 3 ต่อปี ตลอดระยะเวลาการให้กู้ยืม โดยปีแรกจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย ไม่ต้องจ่ายคืนเงินต้น สำหรับหลักประกันคือ ที่ดิน บุคคลธรารมดาหรือนิติบุคคล หรือ ค้ำประกันไขว้

อย่างไรก็ตาม มีการตั้งคำถามจาก ครม.หากเป็นผู้ประกอบการติดเอ็นพีแอลจะทำอย่างนั้น รมว.คลังชี้แจงว่าในพื้นที่ดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่มีผลประกอบการดี ไม่ติดอ็นพีแอล ทั้งนี้อาจจะมีการพิจารณาเฉพาะราย

ส่วนมาตรการช่วยเหลือพนักงาน เป็นการยืนยันตาม ครม.เศรษฐกิจ 5 มาตรการ คือ 1.พนักงานหรือลูกจ้างที่ถูกให้ออกจากงาน หรือยุติการจ้างงานรายวันหรือชั่วคราว ขอให้รัฐเป็นผู้จ่ายเงินชดเชย โดยใช้ค่าเฉลี่ยรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของเดือนมีนาคมเป็นเกณฑ์ 2.พนักงานหรือลูกจ้างที่ขาดรายได้จากส่วนแบ่งจากการขายและบริการหรือคอมมิส ชั่น ขอให้รัฐเป็นผู้จ่ายเงินชดเชย โดยใช้ค่าเฉลี่ยรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของเดือนมีนาคม เป็นเกณฑ์ 3.พนักงานหรือลูกจ้างที่นายจ้างยังคงรักษาสภาพการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างและ ยังคงจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นปกติ ขอให้พิจารณาสนับสนุนแก่นายจ้าง โดยให้คิดจำนวนวันที่รัฐให้เงินสนับสนุนนับตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.จนกระทั่งการชุมนุมสิ้นสุด หากรัฐมิสามารถจัดสรรเงินสนับสนุนดังกล่าว ให้กิจการตั้งเป็นยอดเครดิตเพื่อหักการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและหรือภาษี นิติบุคคลที่กิจการต้องนำส่งในอนาคต 4.หากไม่สามารถชดเชยหรือให้การสนับสนุนได้ขอให้พิจารณายกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา หรือเพิ่มค่าลดหย่อนแก่พนักงานและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบโดยตรงสำหรับภาษี ปี 2553 5.ยกเว้นการหักเงินประกันสังคมสำหรับพนักงานและลูกจ้าง และงดการนำส่งเงินกองทุนทดแทนแรงงานสำหรับช่วงระยะเวลาที่เกิดการชุมนุม

โดย ผู้จัดการออนไลน์

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

 

ASTV ผู้จัดการ News

กรุงเทพธุรกิจ - ข่าวหน้าแรก

เกาะติดสื่อ ตามข่าวร้อน Copyright © 2009 WoodMag is Designed by Ipietoon for Free Blogger Template